วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Database

1.ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ประกอบด้วย
1:1
นักศึกษา กับ รหัสนักศึกษา
นักศึกษา 1 คน สามารถมีรหัสบัตรประชาชน เพียงรหัสเดียว
1:N
โรงเรียนมัธยม กับ ชั้นมัธยม
โรงเรียนมัธยม 1 โรงเรียนประกอบด้วยหลาย ม. หลายชั้นมัธยม
N:M
การลงทะเบียนเรียน กับ รายวิชา
การลงทะเบียนแต่ละครั้งสามารถลงทะเบียนได้หลายรายวิชา
2.ระบบจัดการฐานข้อมูลท่านรู้จัก อย่างน้อย 4 ชื่อ
                ออราเคิล (Oracle)
ไซเบส (Sybase)
แคเช่ (Cache')
Progress
Pervasive SQL
แซพ ดีบี (SAP DB)
โลตัส (Lotus)
พาราดอกซ์ (Paradox)
(FoxPro)
ลำดับโครงสร้างข้อมูล
                Bit = เลขฐาน2 ประกอบไปด้วยเลข 0 และ 1
                Byte = การนำเลขฐาน 2 มารวมกัน ซึ่ง1ไบต์เท่ากับ8บิต
                Field = การนำเอา Byte หลายๆ Byte มารวมกัน เช่น ชื่อ นามสกุล
                Record = การนำเอา Field มาเชื่อมโยงกัน
                File = การนำเอาระเบียนหลายๆระเบียนมาเชื่อมโยงกัน
                Database = การนำเอาแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันเก็บไว้ด้วยกัน

Communication and Internet

1.           ช่องสื่อสาร มี 2 ประเภทอะไรมี อธิบายแต่ละเส้นทาง
 แบบมีสาย  เช่น สายคู่บิดเกลียวโคแอกเชียล, เส้นใยแก้วนำแสง

สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Wire)

เป็นสายชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมาใช้งานตามห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมทั้งตามสำนักงานต่างๆ สายชนิดนี้ได้ชื่อมาจากลักษณะองค์ประกอบภายในของสาย ที่เป็นสายลวดทองแดงสองเส้นนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้เป็นเสมือนเกราะสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนทั่วไปได้ในตัวเอง จำนวนรอบหรือความถี่ ในการพันเกลียว เช่น พันเกลียว 10 รอบต่อความยาว 1 ฟุต นั้นมีผลโดยตรงต่อกำลังของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ถ้าจำนวนรอบสูงก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกัน สัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น แต่ก็ทำให้สิ้นเปลืองสายมากขึ้น แต่ถ้าจำนวนรอบต่ำ ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กกำลังอ่อน ซึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนได้น้อยลงก็ใช้สายเปลืองน้อยลงเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วสายชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสายที่ไม่มีการ พันเกลียวเลยบริเวณแกน (Core) ของสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงจำนวนหนึ่ง หรือหลายคู่สาย ห่อหุ้มสายด้วยฉนวนบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร แล้วนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเป็นคู่ ทุกคู่จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียว สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
โคแอกเชียล

เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน
เส้นใยแก้วนำแสง

                เส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก
เส้นใยแก้วนำแสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

แบบไร้สาย เช่น  IrDA, Radio wave, Microwave,  Satellite
IrDA
วงจรสำหรับการเชื่อมต่อด้วยแสงอินฟราเรด” 
อุปกรณ์ไฮเทคที่สนับสนุน IrDA มีจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
•    มือถือโนเกียรุ่น 5000 series, 6000 series, 7000 series, 8000 series
•    มือถือโมโตโลรารุ่น 7689, 7389, L2000, A6288, 388, time port
•    มือถืออิริคสันรุ่น T39, T68, T68i, R320, R380
•    มือถือซีเมน 2588, 3568i, 3618, 6618, 6686, 6688
•    เครื่องพิมพ์ยี่ห้อฮิวเลตเพคการ์ด รุ่น 5MP Laser Printer, HP 6P Laser Printer และ HP DeskJet 990C series Printer
•    กล้องโซนี่ DSC-F1 3COM
•    คอมพิวเตอร์พกพาแบบ ปามล์ รุ่น Palm III, Palm V, Palm M100, Palm Vx
•    Pocket PC, Smart Phone และ PDA ทุกรุ่น
•    คอมพิวเตอร์แบบ note book ส่วนใหญ่
คลื่นวิทยุ ( Radio waves)
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงความถี่วิทยุบนเส้นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุถูกค้นพบครั้งแรกระหว่างการตรวจสอบทางคณิตศาสตร์โดยเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ ในปี ค.ศ. 1865 แมกซ์เวลล์สังเกตพบคุณสมบัติของแสงบางประการที่คล้ายคลึงกับคลื่น และคล้ายคลึงกับผลการเฝ้าสังเกตกระแสไฟฟ้าและแม่เหล็ก เขาจึงนำเสนอสมการที่อธิบายคลื่นแสงและคลื่นวิทยุในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่เดินทางในอวกาศ ปี ค.ศ. 1887 เฮนริค เฮิร์ตซ ได้สาธิตสมการของแมกซ์เวลล์ว่าเป็นความจริงโดยจำลองการสร้างคลื่นวิทยุขึ้น ในห้องทดลองของเขา หลังจากนั้นก็มีสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และทำให้เราสามารถนำคลื่นวิทยุมาใช้ในการส่งข้อมูลผ่านห้วงอวกาศได้
นิโคลา เทสลา และกูลเยลโม มาร์โกนี ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ระบบที่นำคลื่นวิทยุมาใช้ในการสื่อสาร
ไมโครเวฟ (microwave)
 เป็นคลื่นความถี่วิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 0.3GHz - 300GHz ส่วนในการใช้งานนั้นส่วนมากนิยมใช้ความถี่ระหว่าง 1GHz - 60GHz เพราะเป็นย่านความถี่ที่สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
Satelite
หรือ ดาวเทียม คือสิ่งที่ประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาแล้วยิงขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นดาวเทียมที่นำเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ใด
2.           สถาปัตยกรรมเครือข่าย จงอธิบาย
Star Topology  ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
Bus Topology  ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
Ring Topology ข้อดี ข้อเสีย
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
3.            คำศัพท์ อธิบาย
WWW
เวิลด์ไวด์เว็บ (อังกฤษ: World Wide Web, WWW, W3 ; หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เว็บ") คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดURL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
Web Site
เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น
Web page
เว็บเพจ คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบสื่อประสม เช่น ข้อความ,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,เสียง เป็นต้น โดยการนำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
Web Browser
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
DNS   พร้อมยกตัวอย่าง
nระบบ Domain Name System  (DNS) นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว
nกลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP address หรือทำกลับกันได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติมอื่นๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน domain ที่รับผิดชอบด้วย
ในระบบ DNS จะมีการกำหนด name space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีกลไกการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)

อุปกรณ์ Input เเละ Out put นำสมัย

อุปกรณ์ Input 


Logitech โชว์เลเซอร์เม้าส์
    ตัวใหม่ในชื่อรุ่น V550 Nano เป็นแบบ wireless ส่งสัญญาณที่ย่านความถี่ 2.4GHz พร้อมตัวรับที่มีมาให้เช่นเดียวกับเม้าส์ wireless ทั่วไป แต่ที่น่าสนใจ สำหรับเจ้า V550 Nano ตัวนี้ก็คือ ทาง Logitech อ้างว่าสามารถใช้งานได้นานถึง 18 เดือน โดยการใช้แบตเตอรี่ AA 2 ก้อนเท่านั้นไม่อยากจะเชื่อเลย พร้อมกับลูกเล่นอีกอย่างที่แถมมาให้นั้นคือเจ้าเม้าส์ตัวนี้มีแม่เหล็กในตัวนั้นก็หมายความว่าเราสามารถที่จะว่างมันใว้บนหลังโน๊ตบุคแล้วถือไปใหนมาใหนได้โดยที่มันไม่ตกลงไป ขนาดของเจ้าเม้าส์ตัวนี้คือ 3.91x2.28x1.35 นิ่ว คาดว่าจะวางตลาดสิ้นเดือนนี้ที่ อเมริกาและยุโรป ที่ราคาประมาณ 60 USD.

Output
Microsoft Arc Keyboard
Microsoft Arc Keyboard มีดีไซน์ที่คล้ายคลึงกับ Arc Mouse เมาส์ดีไซน์พระจันทร์เสี้ยวที่มียอดขายถล่มทลาย โดย Arc Keyboard ผสมผสานความโค้งมนในการออกแบบเข้ากับลายเส้นที่เรียบง่าย พร้อมคุณสมบัติที่เหมาะกับการพกพาและน้ำหนักที่เบา ด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่า 1 ปอนด์ ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนย้ายคีย์บอร์ดได้อย่างสะดวก ทั้งยังสามารถวางคีย์บอร์ดไว้บนหน้าขาได้ ทำให้สะดวกไม่ว่าจะใช้ทำงานงานที่เก้าอี้โซฟา หรือที่เคาน์เตอร์ในห้องครัว ด้วยดีไซน์ที่กะทัดรัดและไม่เหมือนใคร Arc Keyboard จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทั้งเป็นประโยชน์และทันสมัย เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์

Arc Keyboard ยังมีทรานซิฟเวอร์ขนาดจิ๋วแบบ snap-in ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเสียบทรานซิฟเวอร์ไว้กับคอมพิวเตอร์ได้ หรือ สะดวกสำหรับสอดเก็บไว้ข้างใต้คีย์บอร์ด นอกจากนี้ ยังมี four-way directional pad ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ปุ่มแอร์โรว์คีย์ได้โดยที่ใช้พื้นที่น้อยลง ทั้งยังมีเทคโนโลยีไวร์เลส 2.4 GHz ที่ช่วยให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานได้ไกลถึง 15 ฟุต แม้ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานไวร์เลสหนาแน่น

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด

 ประเภทของ RAM เเละ ROM 

RAM โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. Static Random Access Memory ( SRAM )
            คือ RAM ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์(Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)




2. Dynamic Random Access Memory ( DRAM )
            คือ RAM หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น(Workstation) ลักษณะของ DRAM จะเป็นคล้ายกับเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ         ประเภทของ DRAM ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก 



                        2.1)  FPM DRAM
                                    เป็น RAM ชนิดที่ใช้กับ PC ในยุคเริ่มต้น โดยมีรูปแบบคือ SIMM (Single Inline Memory Modules)ปกติจะมีแบบ SIMM ละ 2, 4, 8, 16 และ 32 MB โดยมีค่า refresh rate ของวงจรอยู่ที่ 60 และ 70 nana sec.โดยค่า refresh ที่น้อยกว่าจะความเร็วมากกว่า
                        2.2)  EDO DRAM
                                    เป็นชนิดที่ปรับปรุงมาจาก FPM โดยมีการปรับปรุงเรื่องการอ่านข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการอ่านข้อมูลจาก RAM จะต้องระบุตำแหน่งแนวตั้ง และแนวนอนให้แก่วงจร RAM ถ้าเป็นชนิด FPM แล้วต้องระบุแนวใดแนวหนึ่งให้เสร็จเสียก่อน แล้วจึงระบุอีกแนวหนึ่ง แต่ EDO สามารถระบุค่าตำแหน่งในแนวตั้ง (CAS) และแนวนอน(RAS) ได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน หรือพร้อมกันได้
                        2.3)  SDRAM
                        เป็น RAM ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดย 1 DIMMs จะมี 168 ขา และส่งข้อมูลได้ทีละ 64 บิต ทำให้ SDRAM แผงเดียวก็สามารถทำงานได้ เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของ SDRAM จะมีค่าประมาณ6-12 n Sec. ปัจจุบัน SDRAM สามารถทำงานได้ที่ความถี่ 66, 100 และ 133 MHz
                        2.4)  RAMBUS
                        พัฒนามาจาก DRAM แต่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในใหม่ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเข้าถึงข้อมูลภายใน RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้หลักการ “Pre-fetch” หรืออ่านข้อมูลล่วงหน้าโดยระหว่างนั้น CPU สามารถทำงานอื่นไปพร้อม  กันด้วย packet ของ RAMBUS จะเรียกว่า RIMMs (Rambus Inline Memory Modules) ซึ่งมี 184 ขา
                                    RAMBUS ทำงานกับไฟกระแสตรง 2.5 V ภายใน 1 RIMMs (Rambus Inline Memory Modules)จะมีวงจรสำหรับควบคุมการหยุดจ่ายไฟแก่แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS ซึ่งยังไม่ถูกใช้งานขณะนั้น เพื่อช่วยให้ความร้อนของ RAMBUS ลดลง และวงจรดังกล่าวจะทำหน้าที่ลดความเร็วของ RAMBUS ลงหากพบว่าความร้อนของ RAMBUS ขณะนั้นสูงเกินไป
            แผงวงจรหน่วยความจำย่อยของ RAMBUS 1 แผงจะรับ-ส่งข้อมูลทีละ 16 บิต โดยใช้ความถี่ 800MHz ซึ่งเกิดจากความถี่ 400 MHz แต่ทำงานแบบ DDR (Double Data Rate) ทำให้ได้ bandwidth ถึง 1.6GB/Sec. และจะมี bandwidth สูงถึง 6.4 GB/Sec. ถ้าใช้แผงวงจรย่อย 4 แผง


ประเภทของ ROM

Rom มีทั้งหมด 3 ประเภทครับ ประกอบไปด้วย

- PROM (Programable ROM) เป็น ROM ที่สามารถ program ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลบข้อมูลได้ครับ ต่อมาจึงมีการพัฒนา ROM อีกประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยให้ลบข้อมูลได้ ซึ่งก็คือ
- EPROM (Erasable PROM) โดยมันจะทำการลบข้อมูลโดยใช้รังสี Ultraviolet ที่มีความแรง (แสงอาทิตย์ไม่เพียงพอที่จะลบข้อมูลได้ เพียงแต่เราควรป้องกันไม่ให้ EPROM โดนแสงแดดเพราะอาจจะทำให้ข้อมูลบางอย่างหายไปได้ ถึงแม้ว่าแสงอาทิตย์จะมี ultraviolet ที่ไม่แรงก็ตาม) การลบข้อมูลของมันอาจจะนำไปใส่กล่องหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี  ultraviolet ที่มีความแรงสูงครับ แต่ในวิธีการลบข้อมูลของ EPROM ค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจากจะต้องนำ ROM ออกมาเพื่อไปล้างข้อมูลในกล่องหรืออุปกรณ์บางอย่าง จึงทำให้เขาพัฒนาอีกประเภทหนึ่งขึ้นมาคือ
- EEPROM (Electrically Erasable PROM) ซึ่งช่วยให้เราสามารถใช้กระแสไฟฟ้าในการลบข้อมูลได้แทนการใช้รังสี ultraviolet ครับ แต่รู้สึกว่า ROM ประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพงเนื่องจากมันจะทำการลบเป็นทีละ bit ดังนั้นเขาจึงพัฒนา technology ใหม่ขึ้นมาที่ชื่อว่า FLASH Technology

ถ้ามีอะไรผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ (เพราะผมก็เป็นผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนก็อาจผิดพลาดกันได้ครับ) พร้อมรับคำติครับ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบฐานข้อมูล (DATABASE SYSTEMS)

       ระบบฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย  แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก  ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
            ในการประกอบธุรกิจจะมีข้อมูลต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลการสั่งของ ข้อมูลพนักงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดี นอกจากนั้นในการตัดสินใจต่างๆจะมีข้อมูลที่ต้องใช้ประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้นั้น ถ้าไม่ได้มีการจัดระเบียบการเก็บที่ดี ก็ย่อมนำมาใช้ได้อย่างยากลำบาก
ทำไมต้องมีระบบฐานข้อมูล
            ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะมีหน้าที่หลักๆดังต่อไปนี้
          การเก็บรักษาข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้การเก็บรักษาข้อมูลเป็นระบบระเบียบ มีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล ซึ่งจะให้ผู้จัดเก็บทำงานได้สะดวกมากขึ้น และป้องกันความผิดพลาดได้
          การนำข้อมูลไปใช้ ข้อนี้จะเป็นหัวใจของระบบฐานข้อมูลเลยทีเดียว ระบบฐานจะทำให้การดึงข้อมูลออกมาใช้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสรุปข้อมูลและประมวลผลต่างๆจะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลใบสั่งของจากลูกค้า ถ้าเราเก็บโดยไม่มีระบบเช่นเก็บสำเนาใบเสร็จทั้งหมดไว้ เราก็จะมีเพียงหลักฐานว่าใครสั่งอะไรไปบ้างเท่านั้น แต่ถ้ามีการเก็บลงระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย เราจะสามารถดึงข้อมูลสรุป ต่างๆออกมาใช้ได้ เช่น สามารถรวบรวมได้ว่า ลูกค้ารายนี้ สั่งอะไรบ้าง สินค้ารายการนี้ถูกสั่งไปเท่าไร เหลืออีกเท่าไร ฯลฯ
          การแก้ไขข้อมูล เป็นอีกความสามารถหนึ่งที่ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากข้อที่แล้วตัวอย่างใบสั่งของ ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เราก็สามารถแก้ทีเดียวได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแก้ในใบสั่งของแต่ละใบ เป็นต้น
            ซึ่งจากหน้าที่ของระบบฐานข้อมูลจะทำให้เห็นว่า การเก็บข้อมูลอย่างมีระบบกับไม่มีนั้น มีความสามารถและประโยชน์ใช้สอยต่างกันมาก ซึ่งก็คงจะทำให้เห็นประโยชน์ของฐานข้อมูลเด่นชัดขึ้น
ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
            อันที่จริงแล้วนั้น ระบบฐานข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องอิงกับคอมพิวเตอร์เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัตรทะเบียนหนังสือในห้องสมุด ระบบบัตรคนไข้ ฯลฯ แม้แต่การที่เราจดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อน ก็ถือได้ว่าเป็นระบบฐานข้อมูลอย่างหนึ่ง  ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ถ้ามีการใช้หลักของการจัดการฐานข้อมูลที่ถูกต้องแล้วละก็ จะสามารถมีความสะดวกในการใช้สอยได้ในระดับหนึ่ง
            แต่ทว่าในปัจจุบันเมื่อเราพูดถึงระบบฐานข้อมูล เราก็มักจะนึกถึงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนั้น อาจพูดได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตรงกับข้อเด่นที่สุดของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ก็คือ ใช้กับงานที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มีการประมวลผลที่เป็นระบบ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะไม่มีความผิดพลาดอันเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่าย
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
       เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
         ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร
นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น
เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้
รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ( One - to - One Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่า มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น เอนติตี้นักศึกษา กับเอนติตี้โครงงานวิจัยมีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ นักศึกษาแต่ละคนทำโครงงานวิจัยได้ 1 โครงงานเท่านั้น และแต่ละ

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ( One - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนติตี้หนึ่งว่ามีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลายข้อมูลกับอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น ความสัมพันธ์ของลูกค้าและคำสั่งซื้อเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม คือ ลูกค้าแต่ละคนสามารถสั่งซื้อได้หลายคำสั่งซื้อ แต่แต่ละคำสั่งซื้อมาจากลูกค้าเพียงคนเดียว เป็นต้น

ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ( Many - to - Many Relationship )
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของสองเอนติตี้ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำสั่งซื้อกับสินค้าเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือ แต่ละคำสั่งซื้ออาจสั่งซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิด และในสินค้าแต่ละชนิดอาจปรากฏอยู่ในคำสั่งซื้อได้มากกว่า 1 คำสั่งซื้อ
เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน