วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Google Applications


 Google chrome

สาเหตุที่เลือกมา
เพราะเป็น เว็บเบราว์เซอร์ที่สร้างโดยกูเกิลซึ่งซึ่งตอนนี้ก็มาถึงเวอชั่น 4 แล้ว ด้วยการใช้งานที่ง่าย ฟรี และติดตั้งได้อย่างรวดเร็วในไม่กี่วินาที ซึ่งมีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย
- ช่องแถบสำหรับใส่ที่อยู่เว็บก็ใช้เป็นช่องค้นหาได้ด้วย
- สามารถตั้งเลือกค่าให้บุ๊คมาร์คในแต่ละเครื่องปรับตรงกันได้โดยอัตโนมัติ
- สามารถลากแท็บออกจากเบราว์เซอร์เพื่อสร้างหน้าต่างใหม่ และรวมหลายๆ แท็บไว้ในหน้าต่างเดียว
- แท็บทุกแท็บที่กำลังใช้ ทำงานอย่างอิสระในเบราว์เซอร์
- มีโหมดไม่ระบุตัวตนสำหรับการเข้าชมแบบส่วนตัว
- มีส่วนขยายให้เลือกติดตั้งเพิ่มลงไปตามต้องการ
ขั้นตอนการใช้งาน
ขั้นแรกเราต้อง Download Google chrome มา ที่ http://www.google.com/chrome
เมื่อติดตั้ง เรียบร้อยแล้ว ก็จะปรากฏ หน้าเว็บขึ้นมา
ดังนั้นเรามาดูว่า Google chrome เบื้องต้นกันเลย

จากรูป
หมายเลข เรียกว่า Tab Bar(แท็บบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการแท็บของการเปิดดูหน้าเว็บเพจใหม่ โดยที่ไม่ต้องเปิดgoogle chrome ขึ้นมาใหม่ หรือจะปิดแท็บ หรือ Re-Open แท็บที่เราเพิ่งจะปิดไปก็ได้ครับ ซึ่งจะสังเกตได้ว่า google chrome จะไม่มี Title Bar ที่แยกออกมาเป็นอิสระเลย ซึ่งหัวข้อหรือหัวเรื่อง จะถูกแสดงอยู่ภายในแต่ละแท็บ
หมายเลข เรียกว่า Navigation Bar(เนวิเกชั่นบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเลื่อนการแสดงผลหน้าเว็บเพจ(ไปข้างหน้าหรือย้อนหลัง) กรณีที่เราเปิดดูเว็บเพจหลายๆหน้า
หมายเลข เรียกว่า Address Bar(ที่อยู่เว็บ หรือ URL) เป็นส่วนที่ให้พิมพ์ที่อยู่หรือ URL เว็บเพจที่เราต้องการเข้าไปเยี่ยมชม ซึ่งในช่อง Address Bar ของ Google Chrome นี้ เราสามารถพิมพ์คีย์เวิร์ดหรือคำค้นหา ที่เราต้องการค้นหาลงได้ไปเลย จากนั้น Google Chrome ก็จะทำการแสดงผลลัพธ์การค้นหาออกมาให้เอง
หมายเลข เรียกว่า Options Bar(ออปชั่นบาร์ ตั้งขึ้นมาเองนะครับ) เป็นส่วนของกลุ่มเมนูคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น บันทึกหน้าเว็บ, พิมพ์หน้าเว็บ, ค้นหาในหน้าเว็บเพจ, ตั้งค่าการแสดงผลของหน้าเว็บเพจ, การติดตั้งAddons Extensions,การตั้งค่าการใช้งานGoogle Chrome ต่างๆ เป็นต้น
หมายเลข เรียกว่า Bookmark Bar(บุ๊คมาร์คบาร์) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงเว็บที่เราชื่นชอบหรือเข้าบ่อยๆ ซึ่งเราได้ทำการเก็บไว้ใน Bookmark Bar เรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วยให้เราเข้าเว็บที่เราBookmarkไว้ได้ง่าย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
หมายเลข เรียกว่า Translate Bar(แถบแปลภาษาเว็บ) เป็นส่วนที่Google Chrome ใส่เข้ามาเพื่อช่วยในการแปลภาษาในเว็บเพจที่เรากำลังเยี่ยมชม ซึ่งTranslate Bar นี้ถูกตั้งค่าไว้ให้เราอัตโนมัติ แต่ถ้าหากไม่ต้องการก็สามารถตั้งค่าตัวเลือกได้ที่ Options
หมายเลข เรียกว่า WebView Area(ตั้งชื่อเองนะครับ) เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลหน้าเว็บเพจที่เราเปิดดู
แนะนำไกด์ไลน์วิธีใช้งานGoogle Chromeเบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะครับ น่าจะพอช่วยให้มือใหม่ใช้งานGoogle Chrome ได้เพิ่มขึ้น และหากใครที่สงสัยหรือติดปัญหาการใช้งานGoogle Chrome สามารถโพสต์คอมเม้นท์ถามได้เลย 
ข้อดี Google chrome
1. ขนาดไฟล์น้อย เบาเครื่อง
2. โหลดเร็วพอๆ กับ firefox
3. Interface สวยงาม
4. ถ่าย bookmarks จาก internet explorer และ Firefox ได้
5. หน้าต่างดาวน์โหลด อยู่ด้านล่างทำให้ไม่เกะกะเหมือน Firefox ที่เด้งขึ้นมาอีกหน้าต่างนึง
6. มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้เล่นเพียบเลย
7. ช่องค้นหาจาก Google สะดวกรวดเร็ว เพราะใส่ได้ทาง Address Bar เลย
8. แทบ Status bar auto hide ทำให้ไม่รกตา และเปลืองพื้นที่ดี
9. แทบ Block Popup สวย
10. หน้าแรก มี เว็บที่เราเข้าบ่อยสุดให้ดู เป็น interface อย่างงาม สามารถค้นหาประวัติการเข้าเว็บของเราได้อย่างละเอียด จาก แถบด้านขวามือ (การค้นหา) และยังมี Bookmarks ล่าสุดบอกอีกด้วย
11. สามารถดึง Application ของ Google มาใช้งานอย่างสะดวกมากมาย โดยไม่ต้องเข้าแบบพิมพ์ เข้าไปตรงๆ อีกต่อไปแล้วครับ ส่วนจะทำยังไงนั้นอ่านได้จาก คู่มือ Google Chrome หรือ เดียวบทความหน้าจะมาเขียนชี้ชัดๆ อีกที
12. เราสามารถอำพรางตัวเข้าไปในเว็บได้ โดยคลิกขวาที่ลิงค์แล้วเลือก เปิดลิงค์ในหน้าต่างที่ไม่เก็บในประวัติ
ข้อเสีย Google chrome
1. มีอาการค้างบ้างเป็นครั้งคราว
2. Mouse Wheel ตรงกลางใช้ไม่ได้ ใช้ได้แต่กดที่ลิงค์ ใช้ Auto เลื่อนลงไม่ได้
โปรแกรมอื่น ที่มีการทำงานคล้ายกันกับ Application Google chrome ที่ยกมาก็คือ
Internet Explorer
คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์  Microsoft Internet Explorer ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ เกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOS นอกจากนี้ยังได้เพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน
การทำงานก็คล้ายกับ Google chrome แต่แอปพลิเคชั่นชั้นต่างๆ จะตั้งอยู่บน Tab Bar
และไม่สามารถล็อคหน้าเว็บไว้หลายหน้าได้แบบ Google chrome แต่ก็สามารถเซฟเว็บไว้ได้เช่นกัน
หน้าตาของ Internet Explorer



วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียได้เข้ามีบทบาทมากขึ้นเพราะอะไร

ก่อนที่เราจะกล่าวถึงสาเหตุว่าเทคโนโลยีมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทเพราะอะไร  เราควรรู้ก่อนว่ามัลติเมีย คืออะไร
ความหมายของมัลติมีเดีย
             คำว่า มัลติมีเดีย มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
             มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด   โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffoate, 1995)
             มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด    เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation)    และวีดิทัศน์  เป็นต้น    ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan, 1993)
             มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์   ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน   ภาพ กราฟฟิก  (Graphic images)  ภาพเคลื่อนไหว  (Animation)  เสียง  (Sound)      และภาพยนตร์วีดิทัศน์  (Full motion Video)     ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)   จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse)  หรือตัวชี้ (Pointer)  เป็นต้น (Hall, 1996)

             ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย   คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด   เช่น ข้อความ  กราฟิก (Graphic)  ภาพเคลื่อนไหว (Animation)  เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น    และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า   มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)   การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบของมัลติมีเดีย

             มัลติมีเดียที่สมบูรณ์ควรจะต้องประกอบด้วยสื่อมากว่า 2  สื่อตามองค์ประกอบ ดังนี้ ตัวอักษร  ภาพนิ่ง  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ และวีดิทัศน์ เป็นต้น โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อการออกแบบ ดังนี้           
1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)
ข้อความหรือตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย  ระบบมัลติมีเดียที่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์  นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกำหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ)ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย ดังรูปต่อไปนี้
2. ภาพนิ่ง (Still Image)
            ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น  ภาพนิ่งนับว่ามีบทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร  ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า  นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ่งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรนั่นเองซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจำกัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา   แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น



 3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
            ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม  การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง

4. เสียง (Sound)
            เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้  โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียง  หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ  จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งนั่นเอง  ดังนั้น  เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี ดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น


5. วีดีโอ (Video)
            วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก  เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม  ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second)  ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง  ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามันติมีส่วนประกอบที่เยอะ เเละเป็นประโยชน์มาก
ดังนั้นสาเหตุที่มัลติเมีเดียเข้ามามีบทบาทในปัจจุบันก็มาจาก สาเหตุเหล่านี้ 
1.ง่ายต่อการใช้งาน
โดยส่วนใหญ่เป็นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผล ผลิต  ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม  และง่ายต่อการใช้งานตามแต่กลุ่มเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น  การใช้งานสื่อมัลติมีเดียโปรแกรมการบัญชี
2.สัมผัสได้ถึงความรู้สึก
สิ่งสำคัญของการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากการสัมผัสกับวัตถุที่ปรากฎอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่มและตัวอักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Play เพื่อชมวิดีโอและฟังเสียงหรือแม้แต่ผู้ใช้คลิกเลือกที่รูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น แสดงได้ดังรูป
3.สร้างเสริมประสบการณ์
            การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย  แม้ว่าจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการ  แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การสั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ในแง่มุมที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ  ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้เคยเรียนรู้วิธีการใช้ปุ่มต่างๆ เพื่อเล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์มาก่อน และเมื่อได้มาสัมผัสเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆก็สามารถเล่นเกมส์ออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัด
4.เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้
            สืบเนื่องจากระดับขีดความสามารถของผู้ใช้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา  ดังนั้น การนำสื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น  การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์  ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการเล่นจากระดับที่ง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่งๆ ขึ้นไป
5.เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
            ด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ  สามารถที่จะสื่อความหมายและเรื่องราวต่างๆ ได้แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ  กล่าวคือ  หากเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกใช้ข้อความหรือตัวอักษร  ในทำนองเดียวกัน หากเลือกใช้วิดีโอ  การสื่อความหมายย่อมจะดีกว่าเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว  ดังนั้น ในการผลิตสื่อ ผู้พัฒนาจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตัวอย่างเช่น การผสมผสานองค์ประกอบของมัลติมีเดียเพื่อบรรยายบทเรียน
6.คุ้มค่าในการลงทุน
            การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่ การบริหารตารางเวลาและการเผยแพร่ช่องทางเพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย  ในกรณีที่ได้หักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนไปแล้วก็จะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนความคุ้มค่าในการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม
7.เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้
            การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ  นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้ว  ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย  ตัวอย่างเช่น  ผู้ใช้(User)ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรมแม็คโครมีเดีย ดรีมวิเวอร์ (Macromedia Dreamweaver ) หรือผู้ใช้กำลังศึกษาสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
มัลติมีเดียในอนาคต
             ต่อไปในอนาคตข้างหน้า มัลติมีเดียจะเป็นนวัตกรรมตัวหนึ่งที่มีการเติบโตขึ้นทั้งด้านของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์   ราคาของมัลติมีเดียจะถูกลงอย่างมากในขณะที่ประสิทธิภาพในด้านของภาพ เสียง   และวีดิทัศน์พัฒนาขึ้นจะมีคุณภาพสูง  การเพิ่มศักยภาพของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกระทำได้ง่ายส่วนในด้านของซอฟต์แวร์จะสามารถใช้ได้ง่ายขึ้น    และประยุกต์ไปพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางการศึกษาได้อย่างง่าย ๆ  รวมถึงการนำมัลติมีเดียเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรและการสอน
             ความต้องการนำมัลติมีเดียไปใช้ในการฝึกอบรมมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ห้องเรียนมัลติมีเดีย และรายวิชามัลติมีเดียได้จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการฝึกอบรมประชาชนในการใช้มัลติมีเดียทางธุรกิจอุตสาหกรรมและการศึกษา แนวโน้มการใช้มัลติมีเดียจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยอาจคาดการณ์อนาคตได้ว่า นักเรียนจะเรียนรู้จากห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และคีย์บอร์ดเพื่อเปิดดูข้อมูลด้านการสอนของครู คอมพิวเตอร์แทนการนั่งฟังการบรรยายของครู  นักเรียนจะดูการสอนของครูได้จากมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น 


รายชื่่อผู้จัดทำ
1. นายสุเทพ              มณีโชติ       ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2531051641137
2.นางสาวสมฤดี        ฤดี                ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641168
3.นางสาวบุณยาพร   มุ่งอินกลาง   ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641179
4. นางสาวมัญชรี       ทับทิม          ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641183
5. นางสาวปวีณา       มัณตชาโต   ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641194 

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ยุคของคอมพิวเตอร์


ที่ผมกล่าวถึงจะกล่าวโดยสรุปนะครับ
คอมพิวเตอร์จะประกอบด้วย 5 ยุคดั้งนี้
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น
โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)
โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

เทคนิคเกี่​ยวกับการตกแต่งภาพ

สร้างพื้นหลังแบบ Matrix แบบง่ายด้วย Photoshop

ขั้นตอนที่ 1.
ทำการเปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมานะครับ ให้ทำการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาโดยมาที่คำสั่ง File --> New โดยให้พื้นหลังเป็นสีดำ

ขั้นตอนที่ 2.
สถานะ Foreground กับ Background ให้เป็นสีขาวดำ โดยตอนนี้ให้สีดำอยู่ข้างบนสีขาวอยู่ข้างหลัง



แล้วให้ทำการสร้าง Layer ใหม่โดยทำการคลิกไอค่อนรูปกระดาษจากนั้นให้ใช้อุปกรณ์ Gradient tool




ไล่เฉดแบบเฉียงมุมบนล่าง ก็จะได้ดั่งภาพ





ขั้นตอนที่ 3.

หลังจากให้มาที่คำสั่ง Filter --> Texture ---> Grain ให้ปรับคาต่างๆ ดังภาพ. ผลออกมาก็จะได้ดั่งภาพ







ขั้นตอนที่ 4.

หลังจากนั้นให้ทำการเปลี่ยนสีโดยมาที่คำสั่ง Images --> Adjustments ---> Hue/saturationsแล้วปรับค่าต่างๆ ดังภาพ. ก็จะได้ดังภาพ.








ขั้นตอนที่ 5.

หลังจากนั้นให้ทำการ Copy Layer โดยลาก Layer ไปที่ไอค่อนรูปกระดาษ จากนั้นให้การทำงานไปอยู่ที่ Layer ที่ทำการ Copy แล้วมาที่คำสั่ง Filter --> Blur --> Gaussian Blur ให้ปรับค่า Radius = 3.0 Pixels จากนั้นให้ทำการให้แสงใน Layer เป็นแบบ Lighten ก็จะได้ Effects Matrix ที่ดูสะดุดตายิ่งขึ้นดังตัวอย่าง







เรียบร้อยแล้ว