วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียได้เข้ามีบทบาทมากขึ้นเพราะอะไร

ก่อนที่เราจะกล่าวถึงสาเหตุว่าเทคโนโลยีมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทเพราะอะไร  เราควรรู้ก่อนว่ามัลติเมีย คืออะไร
ความหมายของมัลติมีเดีย
             คำว่า มัลติมีเดีย มีผู้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้
             มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด   โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffoate, 1995)
             มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด    เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation)    และวีดิทัศน์  เป็นต้น    ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิ-สัมพันธ์ (Interactive Multimedia) (Vaughan, 1993)
             มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์   ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน   ภาพ กราฟฟิก  (Graphic images)  ภาพเคลื่อนไหว  (Animation)  เสียง  (Sound)      และภาพยนตร์วีดิทัศน์  (Full motion Video)     ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)   จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse)  หรือตัวชี้ (Pointer)  เป็นต้น (Hall, 1996)

             ดังนั้นจึงสามารถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย   คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด   เช่น ข้อความ  กราฟิก (Graphic)  ภาพเคลื่อนไหว (Animation)  เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น    และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า   มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)   การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบของมัลติมีเดีย

             มัลติมีเดียที่สมบูรณ์ควรจะต้องประกอบด้วยสื่อมากว่า 2  สื่อตามองค์ประกอบ ดังนี้ ตัวอักษร  ภาพนิ่ง  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ และวีดิทัศน์ เป็นต้น โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อการออกแบบ ดังนี้           
1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)
ข้อความหรือตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย  ระบบมัลติมีเดียที่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์  นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกำหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ)ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย ดังรูปต่อไปนี้
2. ภาพนิ่ง (Still Image)
            ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น  ภาพนิ่งนับว่ามีบทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร  ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า  นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ่งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรนั่นเองซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจำกัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา   แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น



 3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)
            ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม  การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง

4. เสียง (Sound)
            เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้  โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียง  หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ  จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งนั่นเอง  ดังนั้น  เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี ดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น


5. วีดีโอ (Video)
            วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก  เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม  ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก  เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second)  ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง  ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามันติมีส่วนประกอบที่เยอะ เเละเป็นประโยชน์มาก
ดังนั้นสาเหตุที่มัลติเมีเดียเข้ามามีบทบาทในปัจจุบันก็มาจาก สาเหตุเหล่านี้ 
1.ง่ายต่อการใช้งาน
โดยส่วนใหญ่เป็นการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มผล ผลิต  ดังนั้นผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสม  และง่ายต่อการใช้งานตามแต่กลุ่มเป้าหมายเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น  การใช้งานสื่อมัลติมีเดียโปรแกรมการบัญชี
2.สัมผัสได้ถึงความรู้สึก
สิ่งสำคัญของการนำมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้งานก็คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกจากการสัมผัสกับวัตถุที่ปรากฎอยู่บนจอภาพ ได้แก่ รูปภาพ ไอคอน ปุ่มและตัวอักษร เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Play เพื่อชมวิดีโอและฟังเสียงหรือแม้แต่ผู้ใช้คลิกเลือกที่รูปภาพหรือตัวอักษรเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น แสดงได้ดังรูป
3.สร้างเสริมประสบการณ์
            การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านมัลติมีเดีย  แม้ว่าจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละวิธีการ  แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การสั่งสมประสบการณ์จากการใช้สื่อเหล่านี้ในแง่มุมที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงวิธีการใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ  ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ได้เคยเรียนรู้วิธีการใช้ปุ่มต่างๆ เพื่อเล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์มาก่อน และเมื่อได้มาสัมผัสเกมส์ออนไลน์ใหม่ๆก็สามารถเล่นเกมส์ออนไลน์ได้อย่างไม่ติดขัด
4.เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้
            สืบเนื่องจากระดับขีดความสามารถของผู้ใช้แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการสั่งสมมา  ดังนั้น การนำสื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น  การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์  ผู้ใช้สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการเล่นจากระดับที่ง่ายไปยังระดับที่ยากยิ่งๆ ขึ้นไป
5.เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
            ด้วยคุณลักษณะขององค์ประกอบของมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและวิดีโอ  สามารถที่จะสื่อความหมายและเรื่องราวต่างๆ ได้แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ  กล่าวคือ  หากเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว การสื่อความหมายย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการเลือกใช้ข้อความหรือตัวอักษร  ในทำนองเดียวกัน หากเลือกใช้วิดีโอ  การสื่อความหมายย่อมจะดีกว่าเลือกใช้ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว  ดังนั้น ในการผลิตสื่อ ผู้พัฒนาจำเป็นต้องพิจารณาคุณลักษณะให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตัวอย่างเช่น การผสมผสานองค์ประกอบของมัลติมีเดียเพื่อบรรยายบทเรียน
6.คุ้มค่าในการลงทุน
            การใช้โปรแกรมด้านมัลติมีเดียจะช่วยลดระยะเวลา  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง การจัดหาวิทยากร การจัดหาสถานที่ การบริหารตารางเวลาและการเผยแพร่ช่องทางเพื่อนำเสนอสื่อ เป็นต้น  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย  ในกรณีที่ได้หักค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนไปแล้วก็จะส่งผลให้ได้รับผลตอบแทนความคุ้มค่าในการลงทุนในระยะเวลาที่เหมาะสม
7.เพิ่มประสิทธิผลในการเรียนรู้
            การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้านมัลติมีเดียจำเป็นต้องถ่ายทอดจินตนาการจากสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจด้วยกรรมวิธีต่างๆ  นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานแล้ว  ผู้ใช้ยังได้รับประโยชน์และเพลิดเพลินในการเรียนรู้อีกด้วย  ตัวอย่างเช่น  ผู้ใช้(User)ออกแบบและสร้างเว็บเพ็จ (Web Page) ด้วยโปรแกรมแม็คโครมีเดีย ดรีมวิเวอร์ (Macromedia Dreamweaver ) หรือผู้ใช้กำลังศึกษาสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
มัลติมีเดียในอนาคต
             ต่อไปในอนาคตข้างหน้า มัลติมีเดียจะเป็นนวัตกรรมตัวหนึ่งที่มีการเติบโตขึ้นทั้งด้านของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์   ราคาของมัลติมีเดียจะถูกลงอย่างมากในขณะที่ประสิทธิภาพในด้านของภาพ เสียง   และวีดิทัศน์พัฒนาขึ้นจะมีคุณภาพสูง  การเพิ่มศักยภาพของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกระทำได้ง่ายส่วนในด้านของซอฟต์แวร์จะสามารถใช้ได้ง่ายขึ้น    และประยุกต์ไปพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางการศึกษาได้อย่างง่าย ๆ  รวมถึงการนำมัลติมีเดียเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรและการสอน
             ความต้องการนำมัลติมีเดียไปใช้ในการฝึกอบรมมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ห้องเรียนมัลติมีเดีย และรายวิชามัลติมีเดียได้จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการฝึกอบรมประชาชนในการใช้มัลติมีเดียทางธุรกิจอุตสาหกรรมและการศึกษา แนวโน้มการใช้มัลติมีเดียจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยอาจคาดการณ์อนาคตได้ว่า นักเรียนจะเรียนรู้จากห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และคีย์บอร์ดเพื่อเปิดดูข้อมูลด้านการสอนของครู คอมพิวเตอร์แทนการนั่งฟังการบรรยายของครู  นักเรียนจะดูการสอนของครูได้จากมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น 


รายชื่่อผู้จัดทำ
1. นายสุเทพ              มณีโชติ       ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2531051641137
2.นางสาวสมฤดี        ฤดี                ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641168
3.นางสาวบุณยาพร   มุ่งอินกลาง   ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641179
4. นางสาวมัญชรี       ทับทิม          ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641183
5. นางสาวปวีณา       มัณตชาโต   ปี 1 ห้อง 2 รหัส 2541051641194 

13 ความคิดเห็น:

  1. อืม เข้าใจในมัลติมีเดียมากขึ้นเลย

    ตอบลบ
  2. ความหมายโดยรวมของมัลติมีเดียคืออะไรครับ

    ตอบลบ
  3. ถสรุปความหมายของมัลติมีเดียได้ว่า มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น
    มาใช่ประโยชน์ในด้านต่างๆ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ26 สิงหาคม 2554 เวลา 05:00

    อยากทราบ โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้าง มัลติมีเดีย

    ตอบลบ
  5. อยากทราบสาเหตุหลักที่สำคัญ ที่มัลติมีเดียเข้ามามีบทบาท

    ตอบลบ
  6. ตอบคำถามนะครับ
    อยากทราบ โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้าง มัลติมีเดีย
    ขอพูดเกี่ยวกับภาพ เเล้ว กันครับ
    ผมเเนะนำ Photoshop cs ละ กันครับ
    ทุกคนอาจรู้จักเเละเคยใช้ เเต่ผมอยากให้ลองใช้ให้ลึกครับ โปรเเกรมนี้เเต่งภาพได้สวยมากกว่าที่คุณคิดครับ แต่โปรแกรมมีเยอะเเยะมากมายครับ เเล้ว เเต่ความถนัดลองหาใช้ได้เลยครับ ต่อไปมัลติมีเดีย จะเป้นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการประกอบอาชีพเลยครับ

    ตอบลบ
  7. ตอบคำถาม
    อยากทราบสาเหตุหลักที่สำคัญ ที่มัลติมีเดียเข้ามามีบทบาท "เสริมจากบทความครับ"
    ยกตัวอย่างนะครับ ของไกล้ตัวของเราก็เป็นมันติมีเดียครับ เช่น ภาพยนต์ ละคร เพลง ภาพถ่าย ดั้งนั้นสาเหตุหลักก็คือความต้องการขอมนุษย์ที่ต้องการเห้นเเละทำให้สิ่งที่ตนเองทำเป้นที่น่าสนใจครับใช่ในด้านต่างๆ ครับ

    ตอบลบ
  8. ได้ความรู้ดีน่ะคัฟ !!

    ตอบลบ
  9. ปัจจุบันมีการนำสื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ในด้านใดบ้างครับ

    ตอบลบ
  10. แล้วถ้าหากเราต้องการที่จะทำสื่อวีดีโอ จะมีโปรแกรมไหนบ้างที่จะใช้งานง่ายๆๆ และไม่ยุ่งยากค่ะ

    ตอบลบ
  11. เเล้วมัลติมีเดียในอนาคต ราคาจะถูกลง ประสิทธิภาพได้สูงหรอคะ ?

    ตอบลบ
  12. นอกจากองค์ประกอบของมัลติมีเดีย ที่มี ตัวอักษร ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ และวีดิทัศน์ แล้วยังมีอย่างอื่นอีกไหมคับ

    ตอบลบ
  13. ตอบคำถามนะครับ ปัจจุบันมีการนำสื่อมัลติมีเดียมาประยุกต์ใช้ในด้านใดบ้าง
    ตอนนี้เห็นได้ว่า ใช่ในทุกด้านครับ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา ธรุกิจ ประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆ
    เเล้วมัลติมีเดียในอนาคต ราคาจะถูกลง ประสิทธิภาพได้สูงได้หรือ
    ได้ครับ จะเห็นจากตัวอย่าง ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาถูกมาก เทียบกับสมัยก่อนเเล้วแพงมาก ซึ่งมัลติมีเดียก็มาจากเครือเดียวกันครับ อนาคต จะราคาถูกลง เเละคุณภาพมากขึ้นครับ
    นอกจากองค์ประกอบของมัลติมีเดีย ที่มี ตัวอักษร ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ และวีดิทัศน์ แล้วยังมีอย่างอื่นอีกไหม
    ที่กล่าวไป เป็นองค์ประกอบหลักนะครับ แต่อาจเเบ่งยอยได้อีกซึ่งถ้าสนใจ ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ

    ตอบลบ